เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 1. ปรูปหารกถา (10)
สก. เพราะเหตุไร
ปร. เพราะจะให้ท่านสงสัย
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย ความสงสัยใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี” ของพระอรหันต์
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจ-
สมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชน
นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :252 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 1. ปรูปหารกถา (10)
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระ
อรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความ
สงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้น
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์เป็นผลของอะไร
ปร. เป็นผลของการฉัน การดื่ม การเคี้ยว และการลิ้ม
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์เป็นผลของการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว และการลิ้มใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของชนเหล่านั้นทั้งหมดมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :253 }