เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 9. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่าง
เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย
สภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย
สภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
[306] สก. รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :245 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 9. เหวัตถีติกถา
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” รูปไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :246 }