เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 8. สติปัฏฐานกถา
สก. อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน
และอโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน แต่
อโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :238 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 8. สติปัฏฐานกถา
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[302] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน”
สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวง
จึงเป็นผัสสปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา
ฯลฯ จิตปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมทั้งปวง
จึงเป็นจิตตปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงมีสติตั้งมั่น ประกอบด้วยสติ มั่นคงด้วยสติ สติปรากฏแก่
สัตว์ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :239 }