เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 8. สติปัฏฐานกถา
ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ
อุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น1 ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็น
สติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้
ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ
อุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ
ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 เพราะมีความเห็นว่าสภาวธรรมบางอย่างไม่เป็นสติ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. 301/180)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :237 }