เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 7. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีต ส่วนหนึ่งให้ผลแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่ให้ผล
ดับไปแล้วเหล่านั้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผลมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผล ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :232 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 7. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่1
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

2. อนาคตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอนาคต เป็นต้น
[300] สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.2 บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี3
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตบางอย่างเกิด บางอย่างไม่เกิด บางอย่างเกิด
อย่างดี บางอย่างไม่เกิดอย่างดี บางอย่างบังเกิด บางอย่างไม่บังเกิด บางอย่าง
ปรากฏ บางอย่างไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 เพราะมีความเห็นว่า กรรมที่สั่งสมไว้ซึ่งยังไม่ให้ผลเป็นสิ่งที่มีปรากฏจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. 299/179)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 300/175)
3 เพราะมีความเห็นว่า วิปากธรรมบางอย่างจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. 300/175)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :233 }