เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
เองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าว
คำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
สุทธิกสังสันทนะ จบ

6. โอปัมมสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยข้ออุปมา
[28] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :22 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูป
กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[29] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :23 }