เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 5. สัพพมัตถีติกถา
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ(ความ
กำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก) มีอยู่ในกวฬิงการาหาร
ไซร้ วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม
ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขาร
ทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ
ชรา และมรณะต่อไป เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และ
มีความคับแค้น’ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ
ตัณหามีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในวิญญาณาหาร
ฯลฯ เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และมีความคับแค้น” 1
มีอยู่จริงใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ นันทิ
ตัณหาไม่มีในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใด
วิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใดไม่มีนามรูปหยั่งลง
ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขาร

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) 16/64/123-125

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :217 }