เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 5. สัพพมัตถีติกถา
วิญญาณไกล หรือวิญญาณใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์” 1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อดีตจึงมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่
สก. อดีตมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ 3
ประการนี้ คือ (1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ (3) หลักการบัญญัติ ในอดีต
ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูก
ลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน หลักการ 3 ประการ เป็นอย่างไร คือ (1)
รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียก
รูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด ฯลฯ วิญญาณใดล่วงไป
ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (2) รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า
“จักมี” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “จักมี” บัญญัติรูปนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด
ฯลฯ วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ตั้งชื่อวิญญาณ
นั้นว่า “จักมี” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (3) รูปใดเกิดอยู่ ปรากฏอยู่ เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “มีอยู่” บัญญัติรูปนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/2-31/1-16

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :214 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 5. สัพพมัตถีติกถา
ฯลฯ วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏอยู่ เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“มีอยู่” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ภิกษุทั้งหลาย หลักการ 3 ประการ คือ
(1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ (3) หลักการบัญญัติ ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว
ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบทกับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง 2 พวก
เป็นผู้ถืออเหตุกวาทะ1 เป็นผู้ถืออกิริยวาทะ2 เป็นผู้ถือนัตถิกวาทะ3 ได้สำคัญหลักการ
3 ประการ คือ (1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ (3) หลักการบัญญัติ ว่าไม่
ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษและ
ถูกคัดค้าน” 4 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่”
สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรนี้ว่า “ท่านพระผัคคุณะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว
ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ ชิวหานั้นมีอยู่หรือ

เชิงอรรถ :
1 อเหตุกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมองไม่มี (สํ.ข.อ. 2/62/307)
2 อกิริยวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความ
เห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (ที.สี.อ. 1/166/145, สํ.ข.อ. 2/62/307)
3 นัตถิกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. 1/168/146,
สํ.ข.อ. 2/62/307)
4 ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) 17/62/100-102

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :215 }