เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 5. สัพพมัตถีติกถา
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานใช่ไหม
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี
ปร. ท่านจงรับนิคคหะดังต่อไปนี้
หากนิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น
นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี
ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็น
นิพพาน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพาน
เป็นนิพพาน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี
ไม่เป็นนิพพานก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึง
ไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน” คำนั้นของท่านผิด

สุตตสาธนะ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตร
[296] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน รูปที่เป็นภายในตน
รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต รูปไกล
หรือรูปใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือวิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณ
ที่เป็นอนาคต วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็น
ภายนอกตน วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :213 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 5. สัพพมัตถีติกถา
วิญญาณไกล หรือวิญญาณใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์” 1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อดีตจึงมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่
สก. อดีตมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ 3
ประการนี้ คือ (1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ (3) หลักการบัญญัติ ในอดีต
ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูก
ลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน หลักการ 3 ประการ เป็นอย่างไร คือ (1)
รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียก
รูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด ฯลฯ วิญญาณใดล่วงไป
ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (2) รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า
“จักมี” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “จักมี” บัญญัติรูปนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด
ฯลฯ วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ตั้งชื่อวิญญาณ
นั้นว่า “จักมี” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (3) รูปใดเกิดอยู่ ปรากฏอยู่ เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “มีอยู่” บัญญัติรูปนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/2-31/1-16

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :214 }