เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายวิญญาณ
ธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[21] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อิตถินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ปุริสินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สุขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ทุกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้วิริยินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ปัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
อัญญินทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็น
คนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :18 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตา-
วินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[22] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”1
และ2ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ
ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่ง
รู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/96/145, อภิ.ปุ. (แปล) 36/173/205
2 ความข้อนี้แปลต่างกับข้อ 17-21 หน้า 16-18 เพราะข้อความข้างหน้าใช้ในความหมายเปรียบเทียบ
ความเหมือน ส่วนในที่นี้ใช้ในความหมายเปรียบเทียบความแตกต่าง
3 เพราะมีความเห็นว่า ปัญหานี้เกี่ยวกับความเหมือนและความต่างระหว่างสมมติ(บุคคล) กับปรมัตถ์ (รูป)
ซึ่งเป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ แต่ต่างกับเหตุผลที่ฝ่ายปรวาทียกขึ้นมาอ้าง(ดูเชิงอรรถที่ 2
ข้อ 17 หน้า 16 (อภิ.ปญฺจ.อ. 17-27/139, อภิ.มูลฏีกา 2/17-27/62)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :19 }