เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 4. ชหติกถา
2. สุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการยกพระสูตรมาอ้าง
[281] สก. ปุถุชนละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ด้วย
อนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ 3 ประการได้
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ 3
ประการได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ได้ด้วยอนาคามิมรรค” ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิ-
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่งกามราคะ
และพยาบาทมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่ง
กามราคะและพยาบาท ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละกามราคะและพยาบาทอย่าง
หยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค”
สก. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :172 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 4. ชหติกถา
สก. เหล่าชนผู้บรรลุธรรมได้ทั้งหมด ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการ
ได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ครูทั้ง 6 ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต
เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ1 มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น
ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว” 2
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงละกามราคะและพยาบาทได้
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 คำว่า กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/54/134)
2 ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/54/530-531

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :173 }