เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 4. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น
นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น
ไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึง
นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ด้วย
อนาคามิมรรค และมรรคนั้นไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[280] สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่1
สก. ดำรงอยู่ในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อม
กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น
พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. 280/169)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :170 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 4. ชหติกถา
สก. เจริญมรรคทั้ง 3 ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจริญมรรคทั้ง 3 ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง 3 ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง 3 ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 3 เวทนา 3 สัญญา 3 เจตนา 3 จิต 3
สัทธา 3 วิริยะ 3 สติ 3 สมาธิ 3 ปัญญา 3 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อม
กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยสกทาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยอนาคามิมรรค
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :171 }