เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 3. (ข) โอธิโสกถา
ปร. ละอุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง 2
นั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผล
ด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ
โมหะ ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้น
กิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู
ถอนเสาระเนียด ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระ
คือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้
แจ้งนิโรธ เจริญมรรค รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ
ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก
ส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[278] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตน
ทีละน้อย ๆ ในทุกขณะโดยลำดับ
เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง” 1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) 25/239/106

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :165 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 3. (ข) โอธิโสกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระโสดาบันละธรรม 3 ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ได้อย่างสิ้นเชิง พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค
พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง 4 ภูมิ1
และจะไม่ทำอภิฐาน 6” 2
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง
โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส” 3 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”

โอธิโสกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 อบายทั้ง 4 ภูมิ หมายถึงภูมิที่ปราศจากความเจริญมี 4 คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
(ขุ.ขุ.อ. 6/165)
2 อภิฐาน 6 หมายถึงฐานะอันหนัก 6 ประการ ได้แก่ (1) ฆ่ามารดา (2) ฆ่าบิดา (3) ฆ่าพระอรหันต์
(4) ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ (5) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (6) นิยตมิจฉาทิฏฐิ (ขุ.ขุ.อ.
6/167), และดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) 25/10-11/12, 235/555
3 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/95/328

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :166 }