เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
5. สุทธิกสังสันทนะ
การเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรมล้วน ๆ1
[17] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น2
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน
กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[18] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงการเปรียบเทียบบุคคลกับสภาวธรรมแต่ละอย่างในสภาวธรรม 57
ประการ (อภิ.ปญฺจ.อ. 17-27/138-139)
2 เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะขัดกับลัทธิของตนที่ว่ามีสภาพบางอย่างที่เป็นบุคคลซึ่งถือว่าเหมือน
กับรูปก็มิใช่ ต่างกับรูปก็มิใช่ (อภิ.ปญฺจ.อ. 17-27/138-139, อภิ.มูลฏีกา 3/17-27/61-62,
อภิ.อนุฏีกา 3/17-27/85-86) และขัดกับพระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบปัญหาในเรื่องนี้
(สํ.สฬา. (แปล) 18/416/343)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :16 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[19] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชิวหายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สัททายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[20] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
ชิวหาธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัททธาตุ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :17 }