เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 3. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิดใน
ชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ปลงภาระ
ไปเกิดในชั้นสุทธาวาสนั้น และจะไม่เจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนึ่ง ท่านยังไม่ปลงภาระ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิด
ในชั้นสุทธาวาสนั้น และไม่เจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนึ่ง ท่านยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :158 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 3. (ข) โอธิโสกถา
ปร. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ย่อมตาย ฉันใด อนาคามีบุคคลทำ
ให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สก. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ตายทั้งที่มีลูกศรติดอยู่นั้นเอง ฉันใด
อนาคามีบุคคลปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นทั้งที่ยังมีลูกศร (มรรค) ติดอยู่นั้นเอง
ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พรหมจริยกถา จบ

3. (ข) โอธิโสกถา
ว่าด้วยการละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ
[274] สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร.1ใช่2
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง 3 นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ
โสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผล
ด้วยกาย3อยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน
ผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมีสมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 274/168)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลไม่สามารถละกิเลสแต่ละชนิดได้สิ้นเชิงในขณะจิตเดียว (อภิ.ปญฺจ.อ.
274/168)
3 กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. 1/35)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :159 }