เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 3. (ก) พรหมจริยากถา
3. (ก) พรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์
1. สุทธพรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ล้วน ๆ
[269] สก. ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์1 ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้โง่เขลา เบาปัญญา ไม่รู้เดียงสา ใช้ภาษาใบ้
ไม่สามารถจะรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ทูลถามปัญหากับ
พระองค์ เมื่อพระองค์ทรงวิสัชนาปัญหาก็ไม่ชื่นชม เป็นผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น
คือกรรม เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญา
ทราม ไม่ควรที่จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ฆ่ามารดา
ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้
แตกกัน เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด
คำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตคิดพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้
สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทูลถามปัญหากับพระองค์ เมื่อ
พระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ก็เป็นผู้ชื่นชม เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม

เชิงอรรถ :
1 การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงการเจริญมรรคและการบรรพชา (อภิ.ปญฺจ.อ. 269/166)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 269/166)
3 เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ทั้ง 2 อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. 269/166)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :145 }