เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ 4 จบ

4. อวัยวสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับอวัยวะ1
1. อนุโลมปัจจนีกะ
[13] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวง2โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะ คำว่า อวัยวะ หมายถึงองค์ธรรมย่อย
คือสภาวธรรม 57 ดังกล่าวมาแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. 13/137)
2 อวัยวะทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงองค์ธรรมย่อย เช่น ขันธ์ 5 อายตนะ 12 (อภิ.ปญฺจ.อ. 13/137)
3 เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในขันธ์ มีรูปขันธ์ เป็นต้น มีอัตตาในอายตนะมี
จักขายตนะ เป็นต้น ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :12 }