เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 2. ปริหานิกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากพระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในอนาคามิผล พระอนาคามี
เมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระสกทาคามี เมื่อเสื่อมจาก
สกทาคามิผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “พระโสดาบัน
เมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน”
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถัดจากโสดาปัตติผล ท่านก็ทำให้แจ้งอรหัตตผลได้เลยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[242] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :114 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 2. ปริหานิกถา
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้”
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจากอนาคามิ-
ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
[243] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :115 }