เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา 8 ประเด็น
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[238] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า หม้อน้ำมัน ฯลฯ หม้อน้ำผึ้ง ฯลฯ
หม้อน้ำอ้อย ฯลฯ หม้อน้ำนม ฯลฯ หม้อน้ำ ฯลฯ ภาชนะน้ำดื่ม ฯลฯ
กระบอกน้ำดื่ม ฯลฯ ขันน้ำดื่ม ฯลฯ นิตยภัต ฯลฯ ธุวยาคู (ยาคูเที่ยง) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาคูบางอย่างเที่ยง ยั่งยืน คงทน ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” (ย่อ)

รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา 8 ประเด็น คือ

1. อัฏฐกนิคคหะ 2. เปยยาละ
3. สันธาวนิยะ (คติอนุโยคะ) 4. อุปาทายะ (อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ)
5. จิตตะ 6. กัลยาณะ (ปุริสการานุโยคะ)
7. อิทธิ (อภิญญานุโยคะ) 8. สุตตาหารณะ

ปุคคลกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :108 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 2. ปริหานิกถา
2. ปริหานิกถา
ว่าด้วยความเสื่อม
1. วาทยุตติปริหานิ
ว่าด้วยหลักการโต้วาทะในเรื่องความเสื่อม
[239] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร.1ใช่2
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาส3ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ4
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาสทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่5
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม6ของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ นิกายวัชชีปุตตกะ นิกายสัพพัตถิกวาท และนิกายมหาสังฆิกะ
บางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 239/161)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์มีโอกาสเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หมายถึงเสื่อมจากอรหัตตผลลงไปสู่
อริยผลที่ต่ำลงไปตามลำดับ จนถึงโสดาปัตติผล และพระอรหันต์ที่จะเสื่อมได้นั้นจะต้องเป็นพระอรหันต์ใน
กามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 239/161)
3 โอกาส ในที่นี้หมายถึงภพทุกภพและภูมิธรรมของพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 239/161)
4 ข้อความที่ ฯลฯ ไว้นี้ต้องเติมให้เต็มตามนัยแห่งนิคคหนัยในปุคคลกถา และในกถาอื่น ๆ ในเล่มนี้ก็ควร
เติมให้เต็มเช่นนี้
5 เพราะมีความเห็นว่า โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพทั้งปวง จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. 239/161)
6 สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม ในที่นี้หมายถึงกามราคะ และพยาบาทซึ่งมีอยู่ในกามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
239/162)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :109 }