เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
[229] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที1 กาลวาที2 ภูตวาที3 ตถวาที4
อวิตถวาที5 อนัญญถวาที6 มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง7
มีอยู่” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[230] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 สัจจวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงที่อิงอริยสัจ (ขุ.จู.อ. 83/64)
2 กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาอันเหมาะสม (ขุ.จู.อ. 83/64)
3 ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. 83/64)
4 ตถวาที หมายถึงตรัสตามที่ทรงกระทำมา (ขุ.จู.อ. 83/64)
5 อวิตถวาที หมายถึงตรัสเรื่องที่ไม่คลาดเคลื่อน (ขุ.จู.อ. 83/67)
6 อนัญญถวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น (ขุ.จู.อ. 83/66-67)
7 ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) 36/173/205

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :101 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก
เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย” 1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[231] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา”2
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[232] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) 20/170/22
2 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/356/391-392, สํ.ข. (แปล) 17/90/171

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :102 }