เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’
คำนั้นของท่านผิด”
ฉะนั้น นิคคหะที่ท่านกระทำแล้วเป็นการกระทำโดยมิชอบ ปฏิกรรมเป็นการ
กระทำโดยชอบแล้ว การดำเนินกระบวนความเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
นิคคมจตุกกะ จบ นิคคหะที่ 2 จบ

2. โอกาสสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับโอกาส1
1. อนุโลมปัจจนีกะ
[11] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวง2โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง
ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับโอกาส คำว่า โอกาส มีความหมายหลาย
อย่าง เช่น ที่ ที่ตั้ง เวลาที่เหมาะสม เหตุ การขออนุญาต ในที่นี้หมายถึงที่ ที่ตั้ง เช่น สรีระ ภพ ภูมิ โลก
(อภิ.ปญฺจ.อ. 11/137)
2 โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงสรีระ (อภิ.ปญฺจ.อ. 11/137)
3 เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในรูป แต่ถ้าตอบปฏิเสธก็เท่ากับยอมรับว่า
ชีวะกับสรีระต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :10 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ใน
โอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ1
นิคคหะที่ 3 จบ

3. กาลสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับกาล2
1. อนุโลมปัจจนีกะ
[12] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวง3โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น4
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด

เชิงอรรถ :
1 ท่านละปฏิกัมมจตุกกะ นิคคหจตุกกะ อุปนยนจตุกกะ และนิคคมจตุกกะไว้
2 หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับกาล คำว่า กาล ในที่นี้หมายถึงช่วงเวลา
ที่กำหนดตามเหตุการณ์ เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต อนาคต
3 กาลทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงระยะเวลาของอัตภาพในอดีตชาติ อนาคตชาติและปัจจุบันชาติตั้งแต่เกิดจนถึง
ตาย (อภิ.ปญฺจ.อ. 12/137, อภิ.อนุฏีกา 3/12/84)
4 เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่าบุคคลในอดีตชาติกับบุคคลในอนาคตชาติไม่แตกต่างกัน
และบุคคลขณะมีชีวิตอยู่กับหลังจากปรินิพพานแล้วไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทีรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :11 }