เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [10. ทสมนัย] 10. วิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส 1. ติกะ
[384] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ สภาว-
ธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ สภาวธรรมชั้นต่ำ สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ สภาวธรรม
ที่มีมรรคเป็นอธิบดี สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ 1 อายตนะ 10 ธาตุ 16 และ
วิปปยุตจากอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางส่วน
[385] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น สภาวธรรม
เหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะวิปปยุต แต่
วิปปยุตจากธาตุ 5
[386] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจาก
สภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ 1 อายตนะ 10 ธาตุ 16 และ
วิปปยุตจากอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางส่วน
[387] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภาย
นอกตนเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตน
เป็นอารมณ์ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ 1 อายตนะ 10 ธาตุ 10 และ
วิปปยุตจากอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางส่วน
[388] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ สภาว-
ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรม
เหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ 4 อายตนะ 1 ธาตุ 7 และ
วิปปยุตจากอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางส่วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :96 }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [10. ทสมนัย] 10. วิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส 2. ทุกะ
2. ทุกะ
[389] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่มีเหตุ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ สภาว-
ธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่
มีเหตุ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ 1 อายตนะ 10 ธาตุ 16 และ
วิปปยุตจากอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางส่วน
[390] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่เห็นได้ สภาวธรรมที่กระทบได้
สภาวธรรมที่เป็นรูป สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ 4 อายตนะ 1 ธาตุ 7 และ
วิปปยุตจากอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางส่วน
[391] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรม
เหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะวิปปยุต แต่
วิปปยุตจากธาตุ 6
[392] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรม
เหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ 1 อายตนะ 10 ธาตุ 16 และ
วิปปยุตจากอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางส่วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :97 }