เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [5. ปัญจมนัย] 5. อสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส 1. ติกะ
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 สภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน สภาว-
ธรรมที่เป็นของเสขบุคคล สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล สภาวธรรม
ที่เป็นมหัคคตะ สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ สภาวธรรมชั้นต่ำ สภาวธรรมชั้นประณีต สภาว-
ธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้
ผลแน่นอน สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีมรรคเป็น
เหตุ สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่
มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภาย
นอกตนเป็นอารมณ์
สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ
และธาตุกับสภาวธรรมเหล่านั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ 1 อายตนะ 10 และ
ธาตุ 10
[211] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ
และธาตุกับสภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้
สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ
และธาตุกับสภาวธรรมเหล่านั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ 4 อายตนะ 2 และ
ธาตุ 8

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :52 }