เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [3. ตติยนัย] 3. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส
3. ตติยนัย
3. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส
[179] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่
สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สมุทยสัจ มัคคสัจ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 3 อายตนะ 1 และธาตุ 1
[180] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่
สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับนิโรธสัจ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 4 อายตนะ 1 และธาตุ 1
[181] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่
สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับชีวิตินทรีย์ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 2 อายตนะ 1 และธาตุ 1
[182] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่
สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับอิตถินทรีย์
ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา
สังขารที่เกิดเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย ผัสสะที่เกิดเพราะมีสฬายตนะ
เป็นปัจจัย เวทนาที่เกิดเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาที่เกิดเพราะมี
เวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานที่เกิดเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย กัมมภพที่
เกิดเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :41 }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [3. ตติยนัย] 3. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 3 อายตนะ 1 และธาตุ 1
[183] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่
สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับชาติ ชรา
มรณะ ฌาน ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 2 อายตนะ 1 และธาตุ 1
[184] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่
สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับโสกะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อัปปมัญญา อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา อธิโมกข์ มนสิการ สภาวธรรมที่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่เป็น
เหตุและมีเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 3 อายตนะ 1 และธาตุ 1
[185] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่
สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับสภาวธรรม
ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 4 อายตนะ 1 และธาตุ 1
[186] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่
สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับสภาวธรรม
ที่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 3 อายตนะ 1 และธาตุ 1

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :42 }