เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา อุทเทส 2. อัพภันตรมาติกา
2. อัพภันตรมาติกา1 (22 นัย)

[2] 1. ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ 5
2. ทฺวาทสายตนานิ อายตนะ 12
3. อฏฺฐารส ธาตุโย ธาตุ 18
4. จตฺตาริ สจฺจานิ สัจจะ 4
5. พาวีสตินฺทฺริยานิ อินทรีย์ 22
6. ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ปฏิจจสมุปบาท
7. จตฺตาโร สติปฏฺฐานา สติปัฏฐาน 4
8. จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา สัมมัปปธาน 4
9. จตฺตาโร อิทฺธิปาทา อิทธิบาท 4
10. จตฺตาริ ฌานานิ ฌาน 4
11. จตสฺโส อปฺปมฺาโย อัปปมัญญา 4
12. ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ 5
13. ปญฺจ พลานิ พละ 5
14. สตฺต โพชฺฌงฺคา โพชฌงค์ 7
15. อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค อริยมรรคมีองค์ 8
16. ผสฺโส ผัสสะ
17. เวทนา เวทนา
18. สฺา สัญญา
19. เจตนา เจตนา
20. จิตฺตํ จิต
21. อธิโมกฺโข อธิโมกข์
22. มนสิกาโร มนสิการ


เชิงอรรถ :
1 อัพภันตรมาติกา คือ หัวข้อสภาวธรรม 125 บทมีขันธ์ 5 เป็นต้นของคัมภีร์ธาตุกถา แต่ที่พระผู้มี
พระภาคทรงยกขึ้นแสดงตามนัยทั้ง 14 มีจำนวน 105 บท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปกิณณกมาติกาก็ได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. 2/2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :3 }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา อุทเทส 5. พาหิรมาติกา
3. นยมุขมาติกา1 (4 นัย)

[3] 1. ตีหิ สงฺคโห สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้โดยสภาวธรรม 3 ประการ
2. ตีหิ อสงฺคโห สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยสภาวธรรม 3 ประการ
3. จตูหิ สมฺปโยโค สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนามขันธ์ 4

4. จตูหิ วิปฺปโยโค สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนามขันธ์ 4

4. ลักขณมาติกา2 (2 ลักษณะ)

[4] 1. สภาโค สภาวธรรมที่มีส่วนเสมอกัน
2. วิสภาโค สภาวธรรมที่มีส่วนไม่เสมอกัน

5. พาหิรมาติกา3
[5] ธัมมสังคณีแม้ทั้งหมดเป็นมาติกาแห่งธาตุกถา

เชิงอรรถ :
1 นยมุขมาติกา คือหัวข้อธรรมที่ตั้งไว้เพื่อแสดงเป็นตัวอย่างได้ตามความเหมาะสมซึ่งมี 14 นัย (อภิ.ปญฺจ.อ.
3/2)
2 ลักขณมาติกา คือหัวข้อธรรมที่มีการสงเคราะห์เข้าได้กับธรรมเหล่าอื่นที่มีลักษณะเหมือนกัน แต่ไม่มี
การสงเคราะห์เข้ากับธรรมที่มีลักษณะแตกต่างจากตน (อภิ.ปญฺจ.อ. 4/2)
3 พาหิรมาติกา คือหัวข้อธรรมที่นำมาจากคัมภีร์อื่น นั่นคือ ธัมมสังคณี ได้แก่ จากติกมาติกา 66 บท
และทุกมาติกา 200 บท (อภิ.ปญฺจ.อ. 5/2-3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :4 }