เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 6. ฉักกปุคคลบัญญัติ
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนม
ส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ยอดเนยใสเกิดจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่า
เป็นเลิศในบรรดานมสดเป็นต้นนั้น ฉันใด
บรรดาภิกษผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
เพราะอาศัยความมักน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว
เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่างเดียว เพราะอาศัยความปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้
อย่างเดียว เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร 5 จำพวกเหล่านี้
ปัญจกนิทเทส จบ

6. ฉักกปุคคลบัญญัติ
[202] บรรดาบุคคเหล่านั้น บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่
เคยสดับมาก่อนถึงความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้นและถึงความชำนาญในทศพลญาณ
บุคคลนั้นพึงทราบว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะสัพพัญญุตญาณนั้น
บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน แต่ไม่ถึงความ
เป็นสัพพัญญูในธรรมนั้นและไม่ถึงความชำนาญในทศพลญาณ บุคคลนั้นพึงทราบว่า
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเพราะสัพพัญญุตญาณนั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันและบรรลุสาวกบารมีญาณ บุคคลเหล่านั้นพึงทราบว่า เป็น
พระสารีบุตรและเป็นพระโมคคัลลานะเพราะสาวกบารมีญาณนั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน แต่ไม่บรรลุสาวกบารมีญาณ บุคคลเหล่านั้นพึงทราบว่า
เป็นพระอรหันต์ที่เหลือเพราะการทำที่สุดแห่งทุกข์นั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน เป็นพระอนาคามี ไม่มาสู่โลกนี้อีก บุคคลนั้นพึงทราบว่า
เป็นพระอนาคามี เพราะการไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :226 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 7. สัตตกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน ยังมาสู่โลกนี้อีก บุคคลนั้น พึงทราบว่า เป็นพระโสดาบัน
และพระสกทาคามี เพราะการมาสู่โลกนี้อีก
ฉักกนิทเทส จบ

7. สัตตกปุคคลบัญญัติ
[203] บุคคลผู้จมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดย
ส่วนเดียว1 บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี
... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ศรัทธา
ของเขานั้น ย่อมไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ มีแต่เสื่อมอย่างเดียว หิริของเขานั้น ...
โอตตัปปะของเขานั้น ... วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นย่อมไม่คงอยู่กับที่
ไม่เจริญ มีแต่เสื่อมอย่างเดียว บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี
... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และศรัทธา
ของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะของเขานั้น ...
วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า
โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มี
หิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้น
เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู

เชิงอรรถ :
1 อกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ในที่นี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. 203/116)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :227 }