เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 6. ฉักกปุคคลบัญญัติ
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนม
ส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ยอดเนยใสเกิดจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่า
เป็นเลิศในบรรดานมสดเป็นต้นนั้น ฉันใด
บรรดาภิกษผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
เพราะอาศัยความมักน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว
เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่างเดียว เพราะอาศัยความปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้
อย่างเดียว เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร 5 จำพวกเหล่านี้
ปัญจกนิทเทส จบ

6. ฉักกปุคคลบัญญัติ
[202] บรรดาบุคคเหล่านั้น บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่
เคยสดับมาก่อนถึงความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้นและถึงความชำนาญในทศพลญาณ
บุคคลนั้นพึงทราบว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะสัพพัญญุตญาณนั้น
บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน แต่ไม่ถึงความ
เป็นสัพพัญญูในธรรมนั้นและไม่ถึงความชำนาญในทศพลญาณ บุคคลนั้นพึงทราบว่า
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเพราะสัพพัญญุตญาณนั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันและบรรลุสาวกบารมีญาณ บุคคลเหล่านั้นพึงทราบว่า เป็น
พระสารีบุตรและเป็นพระโมคคัลลานะเพราะสาวกบารมีญาณนั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน แต่ไม่บรรลุสาวกบารมีญาณ บุคคลเหล่านั้นพึงทราบว่า
เป็นพระอรหันต์ที่เหลือเพราะการทำที่สุดแห่งทุกข์นั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน เป็นพระอนาคามี ไม่มาสู่โลกนี้อีก บุคคลนั้นพึงทราบว่า
เป็นพระอนาคามี เพราะการไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :226 }