เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 5. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
[199] ในบทมาติกานั้น ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร 5 จำพวก เป็นไฉน
ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ มีความ
ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะ
วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเพราะคิดว่า “การถือ
บิณฑบาตเป็นวัตรนี้ พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้ากล่าวสรรเสริญ”
อีกประการหนึ่ง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มัก
น้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลา
อย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้อย่างเดียว บรรดา
ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใด เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย
อย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่าง
เดียว เพราะอาศัยความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้อย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ
ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจาก
นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ยอดเนยใสเกิดจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่า
เป็นเลิศ ในบรรดานมสดเป็นต้นนั้น ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
เพราะอาศัยความมักน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะ
อาศัยความขัดเกลาอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้
อย่างเดียว เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร 5 จำพวกเหล่านี้
[200] บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตอันเขานำมาถวายใน
ภายหลังเป็นวัตร 5 จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร 5 จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 5 จำพวก
ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :224 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 5. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
ภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร 5 จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร 5 จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร 5 จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร 5 จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการนั่งบนอาสนะตามที่ได้จัดไว้เป็นวัตร 5 จำพวก เป็นไฉน
ฯลฯ
[201] บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร 5 จำพวก
เป็นไฉน
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ มีความ
ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะ
วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน เป็นผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตรเพราะคิดว่า “การอยู่ป่าช้า
เป็นวัตรนี้ พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้ากล่าวสรรเสริญ”
อีกประการหนึ่ง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย
อย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่าง
เดียว เพราะอาศัยความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามอย่างเดียว บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุใดเป็นผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อยอย่างเดียว เพราะ
อาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่างเดียว เพราะอาศัย
ความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามอย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสุด
เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :225 }