เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 5. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
ภิกษุ 5 จำพวก เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีเท่านั้น ย่อมซบเซา หงอยเหงา ไม่
ตั้งมั่น ย่อมไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์1 ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา
บอกคืนสิกขาเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรเป็นกลุ่มธุลีของภิกษุนั้น ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ได้ทราบข่าวว่า “ในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือกุมารี ผู้มีรูปงาม น่าดู
น่าชื่นชม มีผิวพรรณงามยิ่ง” เธอได้ทราบข่าวนั้นแล้ว ย่อมซบเซา หงอยเหงา
ไม่ตั้งมั่น ไม่สามารถเพื่อจะสืบต่อพรหมจรรย์ได้ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา
บอกคืน สิกขาเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ นี้ชื่อว่ากลุ่มธุลีของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้นพอเห็นกลุ่มควันเท่านั้นย่อมชะงัก หยุดอยู่ ไม่ตั้งมั่น ไม่
สามารถจะเข้าสู่สงครามได้แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นเช่นนี้ บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพจำพวกที่ 1 นี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุ
ทั้งหลาย
[195] ยังมีอีก ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ แต่พอเห็น
ปลายธงเท่านั้นย่อมซบเซา หงอยเหงา ไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่สามารถจะสืบต่อ
พรหมจรรย์ได้ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเป็นคฤหัสถ์
อะไรเป็นปลายธงของภิกษุนั้น ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพียงได้ยินข่าวว่า “ในบ้าน
หรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือกุมารี มีรูปงาม น่าดู น่าชื่นชม มีผิวพรรณงามยิ่ง”
ครั้นเธอเห็นแล้ว ก็ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา หงอยเหงา ไม่ตั้งมั่น ไม่
สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียน
มาเป็นคฤหัสถ์ นี้ชื่อว่าปลายธงของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้นพอเห็นกลุ่มควันก็อดทนได้ เห็นปลายธงจึงชะงัก หยุดอยู่ ไม่ตั้งมั่น
ไม่สามารถจะเข้าสู่สงครามได้แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นเช่นนี้ บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพจำพวกที่ 2 นี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุ
ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเพศบรรพชิต (อภิ.ปญฺจ.อ. 194/114)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :221 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 5. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
[196] ยังมีอีก ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ เห็นปลาย
ธงก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงอึกทึกเท่านั้นก็จมอยู่ในมิจฉาวิตก หยุดอยู่ ไม่ตั้งมั่น
ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา บอกคืนสิกขา
เวียนมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรเป็นเสียงอึกทึกของภิกษุนั้น มาตุคาม เข้าไปหาภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมยิ้มยวน ทักทาย ซิกซี้
พูดล้อเลียน เธอถูกมาตุคามยิ้มยวน ทักทาย ซิกซี้ ล้อเลียน ย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก
หยุดอยู่ ไม่ตั้งมั่น ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ได้ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา
บอกคืนสิกขาเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ นี้ชื่อว่าเสียงอึกทึกของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้นเห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ เห็นปลายธงก็อดทนได้ แต่พอได้ยิน
เสียงอึกทึกเท่านั้น ย่อมชะงัก หยุด ไม่ตั้งมั่น ไม่สามารถจะเข้าสู่สงครามได้ แม้ฉันใด
ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นเช่นนี้ บุคคลเปรียบเหมือนนักรบ
อาชีพจำพวกที่ 3 นี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
[197] ยังมีอีก ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ เห็นปลาย
ธงก็อดทนได้ ได้ยินเสียงอึกทึกก็อดทนได้ แต่เมื่อปะทะกันก็เหนื่อยหน่าย ระส่ำ
ระสาย อะไรเป็นการปะทะกันของภิกษุนั้น คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรม
วินัยนี้ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิด กอดรัด
เธอถูกมาตุคามนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิด กอดรัดอยู่ก็ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ประกาศ
ความย่อหย่อนให้ปรากฏ เสพเมถุนธรรม นี้ชื่อว่าการปะทะกันของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้นเห็นกลุ่มควันก็อดทนได้ เห็นปลายธงก็อดทนได้ ได้ยินเสียง
อึกทึกก็อดทนได้ แต่ว่าย่อมเหนื่อยหน่าย ระส่ำระสายในเมื่อมีการปะทะกัน
แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นเช่นนี้ บุคคลเปรียบ
เหมือนนักรบอาชีพจำพวกที่ 4 นี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
[198] ยังมีอีก ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ เห็นปลาย
ธงก็อดทนได้ ได้ยินเสียงอึกทึกก็อดทนได้ ปะทะกันก็อดทนได้ เธอชนะสงคราม
แล้วชื่อว่าผู้พิชิตสงคราม ย่อมครอบครองค่ายรบที่ชนะมาไว้ได้ อะไรเป็นชัยชนะใน
สงครามของภิกษุนั้น คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :222 }