เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 5. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น
สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
จตุกกนิทเทส จบ

5. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
[191] บรรดาบุคคลที่แสดงแล้วเหล่านั้น บุคคลผู้ต้องอาบัติและเดือดร้อน
ทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแล้วแก่ตน บุคคลนั้นพึงถูกว่า
กล่าวอย่างนี้ว่า “อาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติมีแก่ท่าน อาสวะที่เกิดจากความ
เดือดร้อนเจริญแก่ท่าน ดีละ ท่านจงละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติ บรรเทา
อาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อน เจริญจิตและเจริญปัญญา เมื่อเจริญอย่างนี้แล้ว
ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ 51”
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ต้องอาบัติแต่ไม่เดือดร้อน ทั้งไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแล้วแก่ตน บุคคลนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า “อาสวะ
ที่เกิดจากการต้องอาบัติมีแก่ท่าน อาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อนย่อมไม่เจริญแก่
ท่าน ดีละ ท่านจงละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติแล้ว เจริญจิตและปัญญา
เมื่อเจริญอย่างนี้แล้ว ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ 5”
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติแต่เดือดร้อนและไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแล้วแก่ตน บุคคลนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
“อาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติไม่มีแก่ท่าน อาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อนเจริญ
แก่ท่าน ดีละ ท่านจงละอาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อนแล้วเจริญจิตและปัญญา
เมื่อเจริญแล้วอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ 5”

เชิงอรรถ :
1 หมายถึง ผู้สิ้นอาสวะแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. 191/112)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :218 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 5. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ ไม่เดือดร้อน และไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแล้วแก่ตน บุคคลนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
“อาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติไม่มีแก่ท่าน อาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อนไม่
เจริญแก่ท่าน ดีละ ท่านจงเจริญจิตและปัญญา เมื่อเจริญอย่างนี้แล้ว ท่านจัก
เป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ 5”
บุคคล 4 จำพวกเหล่านี้ เมื่อบุคคลที่ 5 โอวาทพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จะถึง
ความสิ้นอาสวะโดยลำดับ
[192] บุคคลให้แล้วดูหมิ่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารแก่บุคคลใด บุคคลนั้นกลับมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ ผู้นี้จะรับ” ให้
แล้วย่อมดูหมิ่นผู้นั้น บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าให้แล้วดูหมิ่น
บุคคลดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วมกัน เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้อยู่ร่วมกับบุคคลใดตลอด 2 หรือ 3 ปี ดูหมิ่นบุคคล
นั้นเพราะการอยู่ร่วมกัน บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วมกัน
บุคคลผู้เชื่อง่าย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เมื่อเขากล่าวสรรเสริญหรือกล่าวติเตียนผู้อื่นก็เชื่อทันที
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้เชื่อง่าย
บุคคลผู้โลเล เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีศรัทธานิดหน่อย มีความภักดีนิดหน่อย มีความรัก
นิดหน่อย มีความเลื่อมใสนิดหน่อย บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้โลเล
บุคคลผู้โง่งมงาย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้สภาวธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มี
โทษ ที่เลวและประณีต มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว บุคคลเช่นนี้
ชื่อว่าผู้โง่งมงาย
[193] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพ 5 จำพวก เป็นไฉน
นักรบอาชีพ 5 จำพวก คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :219 }