เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[185] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ นี้
ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ”
เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์1แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน
[186] บุคคลผู้มีราคะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ยังละราคะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีราคะ
บุคคลผู้มีโทสะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ยังละโทสะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทสะ
บุคคลผู้มีโมหะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ยังละโมหะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโมหะ
บุคคลผู้มีมานะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ยังละมานะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีมานะ

เชิงอรรถ :
1 อยู่จบพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจ
อื่นที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ชื่อว่าอเสขบุคคล (ที.สี.อ.
248/203)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :214 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[187] บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน1 แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง2 เป็นไฉน3
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ แต่
ไม่ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่ง
จิตภายใน เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล แต่ไม่ได้สมาบัติมีรูป
เป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ ได้
โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้
ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ ไม่
ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
และไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงอัปปนาจิตตสมาธิในสันดาน(ความสืบต่อแห่งจิตคือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกัน)ของตน
(องฺ.สตฺตก.อ. 2/92/366)
2 ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาญาณที่กำหนดรู้สังขารคือปัญญาอันยิ่ง
และความเห็นแจ้งในธรรมคือเบญจขันธ์ (องฺ.สตฺตก.อ. 2/92/366)
3 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/92/140

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :215 }