เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ1
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
เว้นขาดจากการรับสตรี2และกุมารี3
เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน
เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร4
เว้นขาดจากการซื้อขาย
เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น
และการขู่กรรโชก
[180] ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
เธอจะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ
เธอประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้แล้วย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน

เชิงอรรถ :
1 ธัญญาหารดิบ หมายถึงธัญชาติที่มีเมล็ด มีเปลือกสมบูรณ์พร้อมที่จะงอกได้ เช่น ข้าวเปลือก (ที.สี.อ.
10/75)
2 สตรี หมายถึงหญิงที่แต่งงานแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. 179/103)
3 กุมารี หมายถึงหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน (อภิ.ปญฺจ.อ. 179/103)
4 เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร หมายถึงการส่งหนังสือหรือข่าวสารของคฤหัสถ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 179/104)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :211 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[181] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัส ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย
ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอประกอบด้วยการสำรวมอินทรีย์
อันเป็นอริยะนี้ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน
[182] ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
เธอประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติสัมปชัญญะ และ
อริยสันโดษนี้ พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติให้มั่น เธอละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา
ชำระจิตให้หมดจดจากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่ง
ประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้หมดจดจากความมุ่งร้ายคือพยาบาท
ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้
หมดจดจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน
ชำระจิตให้หมดจดจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มี
ความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้หมดจดจากวิจิกิจฉา
[183] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 ประการเหล่านี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอน
กำลังปัญญา สงัดจากกาม สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นอกุศล บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปบรรลุทุติยฌาน
อันมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :212 }