เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
ด้วยเขามฤค เข้าไปสู่สัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยมเหสีและพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิต เขา
สำเร็จการนอนบนพื้นอันปราศจากการปูลาดไว้ด้วยมูลโคสด พระราชาให้พระชนม์
ชีพเป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่หนึ่งของแม่โคตัวหนึ่งที่มีลูกอ่อน พระมเหสีให้
พระชนม์ชีพเป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ 2 พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตให้อัตภาพ
เป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ 3 พระราชาทรงบูชาไฟด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ 4
ลูกโคให้อัตภาพเป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชานั้นตรัสอย่างนี้ว่า “ท่านทั้ง
หลายจงฆ่าโคเท่านี้ จงฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ จงฆ่าลูกโคเมียเท่านี้ จงฆ่าแพะเท่านี้ จง
ฆ่าเแกะเท่านี้ เพื่อบูชายัญ (จงฆ่าม้าเท่านี้เพื่อบูชายัญ) จงตัดไม้และเกี่ยวหญ้าคา
เท่านี้เพื่อบังและลาด”
แม้เหล่าชนที่เป็นทาส เป็นคนรับใช้ เป็นคนงานของพระราชานั้น ย่อมสะดุ้ง
ต่ออาชญา สะดุ้งต่อภัย มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้ทำการงานอยู่ บุคคลผู้ทำตน
ให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
[177] บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน1 เป็นไฉน
บุคคลนั้นไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน
พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น2 งามในท่ามกลาง3

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/198/306
2 หมายถึงศีล (ที.สี.อ. 190/159)
3 หมายถึงอริยมรรค (ที.สี.อ. 190/159)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :208 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
และงามในที่สุด1 ทรงประกาศพรหมจรรย์2พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน
คหบดี บุตรแห่งคหบดีหรืออนุชนในตระกูลใดตระกูลหนึ่งได้สดับธรรมนั้น
ครั้นได้สดับธรรมนั้นแล้วเกิดศรัทธาในพระตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า
“การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด3เป็นทางแห่งธุลี4 การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง5
การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัด
แล้วมิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
ต่อมาเขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
[178] บุคคลนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขา6และสาชีพ7แห่ง
ภิกษุทั้งหลาย ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มี
ความละอาย มีความเอ็นดู หวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงนิพพาน (ที.สี.อ. 190/159)
2 พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย 10 ประการ คือ
(1) ทาน การให้ (2) เวยยาวัจจะ การขวนขวายช่วยเหลือ
(3) ปัญจศีล ศีลห้า (4) อัปปมัญญา การประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่
มีขอบเขต
(5) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน (6) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน
(7) วิริยะ ความเพียร (8) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ
(9) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (10) ศาสนา ในที่นี้หมายถึงพุทธศาสนา
(ที.สี.อ. 190/161-162)
3 เป็นเรื่องอึดอัด ในที่นี้หมายถึงมีความกังวลใจ ห่วงใยต่อกันและกันระหว่างสามีภรรยา ไม่สะดวกต่อ
การสั่งสมกุศล (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/198/421)
4 เป็นทางแห่งธุลี ในที่นี้หมายถึงเป็นที่เกิดและเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันทำจิตให้เศร้าหมอง เช่น ราคะเป็นต้น
(ที.สี.อ. 191/163,องฺ.จตุกฺก.อ. 2/198/422)
5 เป็นทางปลอดโปร่ง ในที่นี้หมายถึงนักบวชแม้จะอยู่ในเรือนยอด ปราสาทแก้ว หรือเทพวิมานซึ่งมีประตู
หน้าต่างปลอดปิดมิดชิดก็ยังถือว่าปลอดโปร่ง เพราะนักบวชไม่มีความยึดติดในสิ่งใด ๆ (ที.สี.อ. 191/163)
6 สิกขา หมายถึงอธิศีลสิกขาของภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) 1/55/33)
7 สาชีพ หมายถึงสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) 1/55/33)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :209 }