เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
เขากินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินลูกเดือยเป็น
อาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยางไม้เป็นอาหารบ้าง กินรำเป็นอาหาร
บ้าง กินข้าวตังเป็นอาหารบ้าง กินกำยานเป็นอาหารบ้าง กินหญ้าเป็นอาหารบ้าง
กินมูลโคเป็นอาหารบ้าง กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง กินผลไม้ที่หล่น
เยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้าห่อศพบ้าง
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่มหนังเสือ
ที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มคากรองบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่มผ้าผล
ไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ร้าย
บ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบการ
ถอนผมและหนวดบ้าง ยืนอย่างเดียวปฏิเสธการนั่งบ้าง นั่งกระโหย่ง ประกอบ
ความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งบ้าง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง
อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง หมั่นประกอบการลงน้ำบ้าง เขาหมั่นประกอบการทำร่างกาย
ให้เดือดร้อนหลายวิธีดังกล่าวนี้อยู่ บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
[175] บุคคลผู้ทำคนอื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร เป็นนายพรานนก เป็นนาย
พรานเนื้อ เป็นชาวประมง เป็นโจร เป็นเพชฌฆาต เป็นคนฆ่าโค เป็นผู้คุม
หรือเป็นผู้ทำกรรมอันหยาบช้าชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม บุคคลผู้ทำคนอื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
[176] บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือด
ร้อนและทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษก หรือว่า
เป็นพราหมณ์มหาศาล เขาให้สร้างสัณฐาคารใหม่ทางทิศตะวันออกแห่งพระนคร
แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มหนังสัตว์มีเล็บ ชโลมกายด้วยเนยใสและน้ำมัน เกาหลัง

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/198/305-06

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :207 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
ด้วยเขามฤค เข้าไปสู่สัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยมเหสีและพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิต เขา
สำเร็จการนอนบนพื้นอันปราศจากการปูลาดไว้ด้วยมูลโคสด พระราชาให้พระชนม์
ชีพเป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่หนึ่งของแม่โคตัวหนึ่งที่มีลูกอ่อน พระมเหสีให้
พระชนม์ชีพเป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ 2 พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตให้อัตภาพ
เป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ 3 พระราชาทรงบูชาไฟด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ 4
ลูกโคให้อัตภาพเป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชานั้นตรัสอย่างนี้ว่า “ท่านทั้ง
หลายจงฆ่าโคเท่านี้ จงฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ จงฆ่าลูกโคเมียเท่านี้ จงฆ่าแพะเท่านี้ จง
ฆ่าเแกะเท่านี้ เพื่อบูชายัญ (จงฆ่าม้าเท่านี้เพื่อบูชายัญ) จงตัดไม้และเกี่ยวหญ้าคา
เท่านี้เพื่อบังและลาด”
แม้เหล่าชนที่เป็นทาส เป็นคนรับใช้ เป็นคนงานของพระราชานั้น ย่อมสะดุ้ง
ต่ออาชญา สะดุ้งต่อภัย มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้ทำการงานอยู่ บุคคลผู้ทำตน
ให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
[177] บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน1 เป็นไฉน
บุคคลนั้นไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน
พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น2 งามในท่ามกลาง3

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/198/306
2 หมายถึงศีล (ที.สี.อ. 190/159)
3 หมายถึงอริยมรรค (ที.สี.อ. 190/159)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :208 }