เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นศีล สมาธิ ปัญญา แล้วถือเอาประมาณในศีล
เป็นต้นนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือธรรมเป็นประมาณ
เลื่อมใสในธรรม
[173] บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
พร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยศีลแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเอง
เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ไม่
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตน
เองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคล
เช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :205 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยศีลและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
พร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยสมาธิและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเอง
เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ-
ญาณทัสสนะ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
[174] บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบการทำตนให้เดือดร้อน1
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญมารับ
ภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษา
ที่เขาเจาะจงทำไว้ ไม่ยินดีกิจนิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากกระเช้า
ไม่รับภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่
รับภิกษาที่คนสองคนบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิง
ที่กำลังให้ลูกดื่มนม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะ
กันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่รับเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่ที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็น
กลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับ
ภิกษาเฉพาะเรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียว รับภิกษาที่เรือน 2
หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 2 คำ ฯลฯ หรือรับภิกษาที่เรือน 7 หลัง เยียวยา
อัตภาพด้วยข้าว 7 คำ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง
เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย 2 ใบบ้าง ฯลฯ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษา
ในถาดน้อย 7 ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันเดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ 2
วันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บค้างไว้ 7 วันบ้าง เขาหมั่นประกอบในการบริโภคที่
เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/198/303-05

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :206 }