เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบว่า
ข้อปฏิปทาดีบ้าง ข้อปฏิปทาชอบบ้าง บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว
แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (4)
[166] บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล
แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใด
ควรติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า กล่าวติ
เตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควร
สรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (1)
บุคคลกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล
แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร
สรรเสริญก็กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรติเตียน
ก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าว
สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร
ติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (2)
บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและกล่าว
สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร
ติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็
กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้รู้เวลาเพื่อตอบคำถามนั้น
ในการกล่าวนั้น บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะ
แก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (3)
บุคคลไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและ
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/100/150-53

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :199 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร
ติเตียนก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็ไม่
กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและ
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (4)
[167] บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร แต่ไม่ดำรงชีพ
ด้วยผลแห่งบุญ1 เป็นไฉน
การดำรงชีพของบุคคลใดเกิดขึ้นเพราะความขยัน ความหมั่น ความเพียร
มิใช่เกิดขึ้นเพราะบุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร
แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ
บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่น
เพียร เป็นไฉน
เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกระทั้งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ
แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร
บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่ง
บุญ เป็นไฉน
การดำรงชีพของบุคคลใดเกิดขึ้นเพราะความขยัน ความหมั่น ความเพียร
และเกิดขึ้นเพราะผลบุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่น
เพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ
บุคคลผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพด้วย
ผลแห่งบุญ เป็นไฉน
สัตว์นรกชื่อว่าผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพ
ด้วยผลแห่งบุญ

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/134/203

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :200 }