เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาชั่ว ในข้อปฏิปทาผิดว่า
“ข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบ” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดง
ความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส (3)
บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ในข้อปฏิปทาชอบ
ว่า “ข้อปฏิปทาชั่วบ้าง ข้อปฏิปทาผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่
ไตร่ตรอง แล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (4)
[165] บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนพวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติชั่ว
ปฏิบัติผิดว่า “ปฏิบัติชั่วบ้าง ปฏิบัติผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรอง
แล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน (1)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้
ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบว่า “ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา
ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ (2)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิปทาชั่ว ข้อปฏิปทาผิดว่า
“ข้อปฏิปทาชั่วบ้าง ข้อปฏิปทาผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว
แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส (3)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :198 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบว่า
ข้อปฏิปทาดีบ้าง ข้อปฏิปทาชอบบ้าง บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว
แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (4)
[166] บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล
แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใด
ควรติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า กล่าวติ
เตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควร
สรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (1)
บุคคลกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล
แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร
สรรเสริญก็กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรติเตียน
ก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าว
สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร
ติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (2)
บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและกล่าว
สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร
ติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็
กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้รู้เวลาเพื่อตอบคำถามนั้น
ในการกล่าวนั้น บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะ
แก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (3)
บุคคลไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและ
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/100/150-53

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :199 }