เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธบ่อย ๆ แต่ความโกรธของเขาไม่คงอยู่นาน บุคคล
เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง บุคคลประเภทนี้จึง
เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง (1)
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักแต่ความโกรธของเขาคงอยู่นาน บุคคล
เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว บุคคลประเภทนี้จึง
เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว (2)
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธบ่อย ๆ และความโกรธของเขาคงอยู่นาน บุคคล
เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง บุคคลประเภทนี้จึง
เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง (3)
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักและความโกรธของเขาไม่คงอยู่นาน
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง (4)
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ 4 จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[164] บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญพวกเดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติชั่ว
ปฏิบัติผิดว่า “ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่
ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรสเสริญผู้ควรติเตียน (1)
บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบว่า “ปฏิบัติชั่วบ้าง ปฏิบัติผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่
ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :197 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาชั่ว ในข้อปฏิปทาผิดว่า
“ข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบ” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดง
ความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส (3)
บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ในข้อปฏิปทาชอบ
ว่า “ข้อปฏิปทาชั่วบ้าง ข้อปฏิปทาผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่
ไตร่ตรอง แล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (4)
[165] บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนพวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติชั่ว
ปฏิบัติผิดว่า “ปฏิบัติชั่วบ้าง ปฏิบัติผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรอง
แล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน (1)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้
ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบว่า “ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา
ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ (2)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิปทาชั่ว ข้อปฏิปทาผิดว่า
“ข้อปฏิปทาชั่วบ้าง ข้อปฏิปทาผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว
แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส (3)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :198 }