เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์’
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนูที่อยู่
แต่ไม่ขุดรู (2)
บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์
นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้
เปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนูที่ขุดรูและอยู่ (3)
บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์”
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนู
ที่ไม่ขุดรูและไม่อยู่ (4)
บุคคลเปรียบเหมือนหนู 4 จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[159] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง 4 จำพวก1 เป็นไฉน
มะม่วง 4 ชนิด คือ
1. มะม่วงดิบแต่ผิวสุก 2. มะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
3. มะม่วงดิบและผิวดิบ 4. มะม่วงสุกและผิวสุก
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง 4 จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/105/160-61

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :190 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคล 4 จำพวก เป็นไฉน
1. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก
2. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
3. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ
4. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรน่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก (1)
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส
แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ (2)
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และ
เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ (3)
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :191 }