เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[150] บุคคลผู้เป็นเนยยะ 1 เป็นไฉน
บุคคลใดบรรลุธรรมโดยลำดับอย่างนี้ คือ โดยการแสดง การถาม การ
มนสิการโดยแยบคาย การเสพ การคบ การเข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้เป็นเนยยะ
[151] บุคคลผู้เป็นปทปรมะ1 เป็นไฉน
บุคคลใดฟังก็มาก กล่าวก็มาก ทรงจำก็มาก บอกสอนก็มาก แต่ไม่ได้บรรลุ
ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปทปรมะ
[152] บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว2 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว
[153] บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง2 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาก็ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง
[154] บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว2 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว
[155] บุคคลผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว2 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว
[156] ในบทมาติกานั้น บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก 4 จำพวก3 เป็นไฉน
1. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยและไม่มีประโยชน์ ทั้งหมู่
ผู้ฟังก็ไม่ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้นับ
ว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/133/202
2 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/132/201
3 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/139/207-08

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :187 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
2. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยแต่มีประโยชน์และหมู่ผู้ฟัง
ก็เป็นผู้ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้นับ
ว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน
3. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมากแต่ไม่มีประโยชน์ และหมู่
ผู้ฟังก็เป็นผู้ไม่ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่น
นี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน
4. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมากและมีประโยชน์ และหมู่
ผู้ฟังก็เป็นผู้ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้
นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน
บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก 4 จำพวกเหล่านี้
[157] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ 4 จำพวก1 เป็นไฉน
เมฆ 4 ชนิด คือ
1. เมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก
2. เมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม
3. เมฆที่คำรามและให้ฝนตก
4. เมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ 4 จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคล 4 จำพวก เป็นไฉน
1. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก
2. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม
3. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก
4. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดแต่ไม่ทำ บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่คำราม
แต่ไม่ให้ฝนตก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก (1)

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/101/154-55

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :188 }