เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
และชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูด
คำหยาบและชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจาก
การพูดเพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ตนเองเป็นผู้ไม่โลภ
อยากได้ของผู้อื่นและชักชวนผู้อื่นไม่ให้โลภอยากได้ของผู้อื่น ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่
พยาบาทและชักชวนผู้อื่นไม่ให้มีจิตพยาบาท ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี
[140] บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ1 เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้มีธรรมชั่ว
[141] บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเอง
เป็นผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ฯลฯ2 ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว
[142] บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์ ฯลฯ3 เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมดี
[143] บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น
ขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ4 ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 136 หน้า 184 ในเล่มนี้
2 ดูความเต็มในข้อ 137 หน้า 184 ในเล่มนี้
3 ดูความเต็มในข้อ 138 หน้า 184 ในเล่มนี้
4 ดูความเต็มในข้อ 139 หน้า 184 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :185 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 4. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[144] บุคคลผู้มีแต่โทษ1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรมที่
มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีแต่โทษ
[145] บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษ
เป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย
ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีโทษเป็นส่วนมาก
[146] บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษ
เป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย
ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย
[147] บุคคลผู้ไม่มีโทษ1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วย
วจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีโทษ
[148] บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู2 เป็นไฉน
บุคคลใดบรรลุธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู
[149] บุคคลผู้เป็นวิปจิตัญญู2 เป็นไฉน
บุคคลใดเมื่อเขาอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร จึงบรรลุธรรม
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นวิปจิตัญญู

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/135/203-04
2 ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/133/202

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :186 }