เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี1 เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ บุคคลเช่นนี้ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อัน
ชั่วของเขาย่อมกระฉ่อนไปว่า คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว เปรียบ
เหมือนงูที่เปื้อนคูถถึงจะไม่กัดใคร ๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ทำให้เขาเปื้อนได้ฉันใด คน
ทั่วไปก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่วของ
เขาก็กระฉ่อนไปว่า คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว เพราะฉะนั้น บุคคล
เช่นนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
[125] บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้2
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่ากล่าว
เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง
และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมหลั่งน้ำ
หนองออกมากยิ่งขึ้นแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นคนมัก
โกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ
เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมปะทุเกินประมาณ
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย
ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ
เปรียบเหมือนหลุมคูถถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงขึ้น
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย
ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจโกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด

เชิงอรรถ :
1 ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี ในที่นี้หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ
แต่ยังเรียกตนเองว่าเป็นภิกษุแล้วร่วมอยู่ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีลใช้สิทธิถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์(องฺ.ติก.อ.
2/13/86)
2 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/27/176-177

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :180 }