เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
สัมผัสสบายนั้น ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารของบุคคลเหล่าใด ทานของบุคคลเหล่านั้นย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีค่ามาก ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีราคาแพง
2. แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ผู้เป็นเถระ มีศีล มีธรรมอันงาม นี้
เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผิวพรรณงาม ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มีสีสวย
นั้น ส่วนบุคคลเหล่าใดคบหา ใกล้ชิด พากันตามอย่างเธอ การคบหา
เป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุคคลเหล่านั้นตลอดกาลนาน
นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีสัมผัสสบายนั้น ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของบุคคลเหล่าใด ทานของบุคคลเหล่านั้น
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีค่ามาก ผู้นี้
เปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มีราคาแพง
3. ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระเห็นปานนี้กล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะ
กล่าวกับเธออย่างนี้ว่า ขอให้ท่านทั้งหลายจงสงบเถิด ภิกษุที่เป็นพระ
เถระจะกล่าวธรรมและวินัย ถ้อยคำนั้นของพระเถระควรทรงจำไว้ในหทัย
เหมือนผ้าแคว้นกาสีที่ควรเก็บไว้ในผอบของหอมฉะนั้น
บุคคลเปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสี 3 จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
[118] บุคคลผู้ประมาณได้ง่าย1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ
มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ประมาณได้ง่าย
[119] บุคคลผู้ประมาณได้ยาก1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่เป็นคนปากกล้า
ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ประมาณได้ยาก

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/116/358-359

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :178 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
[120] บุคคลผู้ประมาณไม่ได้ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ประมาณไม่ได้
[121] บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนต่ำทรามกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา
บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เว้นไว้แต่ความเอ็นดู และ
ความอนุเคราะห์
[122] บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนเสมอตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะการสนทนาเกี่ยวกับศีล
สมาธิ ปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลายผู้ถึงความเสมอกันในด้านศีล สมาธิ ปัญญา
การสนทนาของเราทั้งหลายนั้นจักเป็นความสำราญและจักดำเนินไปได้ เพราะฉะนั้น
บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
[123] บุคคลที่ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เหนือกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล
เช่นนี้ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลเช่นนี้คิดว่า “เราจักได้บำเพ็ญศีลขันธ์ (กองศีล) สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์หรือจักอนุเคราะห์ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ” เพราะฉะนั้น บุคคลเช่นนี้ควรสักการะ
เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
[124] บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้2
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม ไม่สะอาด มีความ
ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด ไมใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าป็นสมณะ

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/26/174-175
2 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/27/175-176

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :179 }