เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำและความโกรธของเขานั้นก็หมักหมม
อยู่นาน รอยขีดบนแผ่นหินย่อมไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมติดอยู่นาน
ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ และความ
โกรธของเขานั้นก็หมักหมมอยู่นาน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน
[114] บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่หมักหมม
อยู่นาน รอยขีดที่แผ่นดินย่อมลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ไม่ปรากฏอยู่นานชื่อแม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธ
ของเขานั้นไม่หมักหมมอยู่นาน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน
[115] บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ
แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่น่าพอใจก็ยังคงสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่
รอยขีดที่น้ำย่อมขาดหายไปเร็ว ไม่ปรากฏอยู่นานชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนใน
โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ แม้
จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่น่าพอใจก็ยังคงสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ
[116] บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ 3 จำพวก2
เป็นไฉน
ผ้าเปลือกไม้ 3 ชนิด คือ
1. ผ้าเปลือกไม้ใหม่ มีสีไม่สวย สัมผัสหยาบทั้งราคาก็ถูก
2. ผ้าเปลือกไม้ปานกลางมีสีไม่สวย สัมผัสหยาบ ทั้งราคาก็ถูก
3. ผ้าเปลือกไม้เก่า มีสีไม่สวย สัมผัสหยาบ ทั้งราคาก็ถูก

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/133/382
2 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/100/334

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :175 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
คนทั้งหลายย่อมทำผ้าเปลือกไม้แม้เก่าให้เป็นผ้าเช็ดหม้อข้าว หรือทิ้งมันที่
กองหยากเยื่อ
บุคคลเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ 3 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้ง
หลายอย่างนี้เหมือนกัน
ภิกษุเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ 3 จำพวก เป็นไฉน
1. แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะ1 เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม นี้เป็นเหตุให้
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีที่ไม่
สวยนั้น ส่วนบุคคลเหล่าใดคบหา ใกล้ชิด พากันตามอย่างเธอ การ
คบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คน
เหล่านั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดทุกข์
ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสหยาบนั้น ก็ภิกษุนั้นรับจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของคนเหล่าใด ทาน
ของบุคคลเหล่านั้น ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก นี้เป็นเหตุให้ภิกษุ
นั้นมีค่าน้อย ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก
2. แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ2 ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระ3 แต่เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมอันเลวทราม นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผิวพรรณเศร้าหมอง ผู้นี้เปรียบ
เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวยนั้น ส่วนบุคคลเหล่าใดคบหา ใกล้ชิด
พากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่บุคคลเหล่านั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมี
การติดต่อก่อให้เกิดทุกข์ ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสหยาบนั้น

เชิงอรรถ :
1 ผู้เป็นนวกะ ในที่นี้หมายถึงพระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่ยังนับว่ายังใหม่ถึงแม้จะมีอายุ 60 ปี
แต่มีพรรษาไม่ครบ 5 ก็ยังนับว่าเป็นผู้ใหม่ (อภิ.ปญฺจ.อ. 116/77)
2 ผู้เป็นมัชฌิมะ ในที่นี้หมายถึงพระระดับปานกลาง มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่ยังนับว่าพระ
ปูนกลางคือมีพรรษาตั้งแต่ 5 จนถึง 9 แต่ยังไม่ถึง 10 (อภิ.ปญฺจ.อ. 116/77)
3 ผู้เป็นพระเถระ ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่คือมีพรรษา
ตั้งแต่ 10 ขึ้นไปและรู้ปาติโมกข์ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 116/77)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :176 }