เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
[107] บุคคลผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์2พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้น
ไม่ได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้
เปรียบเหมือนหม้อคว่ำที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมไหลราดไป ไม่ขังอยู่ชื่อแม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่าม
กลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุดแแห่งกถานั้นไม่ได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
แห่งกถานั้นไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
[108] บุคคลผู้มีปัญญาเหมือนชายพก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแแห่งกถา
นั้นได้ แต่ลุกจากที่นั้นแล้วจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ เปรียบ
เหมือนบุรุษเก็บของเคี้ยวต่าง ๆ คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทราไว้ที่ชายพก บุรุษ
นั้นเมื่อลุกจากที่นั้นพึงทำเรี่ยราดเพราะเผลอสติชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/30/180-181
2 พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งรวมอยู่ในไตรสิกขาคือศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็น
ความประพฤติประเสริฐ (องฺ.ติก.อ. 2/30/108)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :173 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจากที่
นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มี
ปัญญาเหมือนชายพก
[109] บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวาง1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และ
มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา
นั้นได้ แม้ลุกจากที่นั้นก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ เปรียบ
เหมือนหม้อหงายที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมขังอยู่ ไม่ไหลราดไปชื่อแม้ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา
นั้นได้ แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีปัญญากว้างขวาง
[110] บุคคลผู้ยังมีกามราคะและภวราคะ เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นโสดาบันและสกทาคามี บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ยังมีกามราคะ
และภวราคะ
[111] บุคคลผู้ไม่มีกามราคะ แต่ยังมีภวราคะ เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นอนาคามี บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีกามราคะ แต่ยังมีภวราคะ
[112] บุคคลผู้ไม่มีทั้งกามราคะและภวราคะ เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นอรหันต์ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีกามราคะแต่ยังมีภวราคะ
[113] บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน2 เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/30/181-182
2 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/133/381-382

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :174 }