เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
[103] บุคคลผู้มีจิตเหมือนเพชร1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเหมือนแก้วมณีหรือ
หินบางชนิดที่เพชรจะทำลายไม่ได้ย่อมไม่มีชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกันทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนเพชร
[104] บุคคลตาบอด เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีนัยน์ตา2เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด
[105] บุคคลตาเดียว3 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์
ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่เขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรม
ที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว
[106] บุคคลสองตา3 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือทำโภคทรัพย์
ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขามีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรม
ที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา

เชิงอรรถ :
1 จิตเหมือนเพชร ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีความแข็งแกร่งสามารถกำจัดมูลรากแห่งกิเลสทั้งหลายได้ (องฺ.ติก.อ.
2/25/103) ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/25/174
2 นัยน์ตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (องฺ.ติก.อ. 2/29/107)
3 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/29/178-179

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :172 }