เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
3. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะย่อมหายจากอาพาธ
เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้น ได้ยาที่เป็นสัปปายะย่อมหาย
จากอาพาธ เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้น ได้คนพยาบาลที่
เหมาะสมย่อมหายจากอาพาธ เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้น
บรรดาคนไข้ 3 จำพวกนั้น คนไข้ผู้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะย่อมหายจากอาพาธ
นั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้ยาที่เป็นสัปปายะย่อมหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้
ย่อมไม่หาย ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมย่อมหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่
หายจากอาพาธนั้น เพราะอาศัยคนไข้นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตอาหาร
สำหรับภิกษุไข้ ยาสำหรับภิกษุไข้ คนพยาบาลสำหรับภิกษุไข้ ก็เพราะอาศัยคนไข้นี้
คนไข้แม้อื่น ๆ ก็ควรได้รับการพยาบาลด้วย
บุคคลเปรียบเหมือนคนไข้ 3 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคล 3 จำพวก เป็นไฉน
1. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ได้เห็นก็ตาม ได้ฟัง
ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมไม่
หยั่งลงสู่นิยาม1ที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
2. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ได้เห็นก็ตาม ได้ฟัง
ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมหยั่ง
ลงสู่นิยามที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
3. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคต จึงหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้อง
เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ
แล้ว จึงหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ฟัง
ย่อมไม่หยั่งลง
บรรดาบุคคล 3 จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้เห็นพระตถาคตจึงหยั่งลงสู่นิยามที่ถูก
ต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตประกาศแล้วจึงหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ฟังย่อมไม่

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 4 ข้อ 12 (เอกกปุคคลบัญญัติ) หน้า 151 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :169 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 3. ติกปุคคลบัญญัติ
หยั่งลง เพราะอาศัยบุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตการแสดงธรรม
เพราะอาศัยบุคคลนี้ จึงควรแสดงธรรมแก่คนแม้เหล่าอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนคนไข้ 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[95] บุคคลผู้เป็นกายสักขี1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายอยู่ อนึ่ง อาสวะบางอย่าง
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี
[96] บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” และสภาวธรรมที่พระตถาคต
ประกาศแล้ว เป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบาง
อย่างของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
[97] บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ1 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ” สภาวธรรมที่
พระตถาคตประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้ว ประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และ
อาสวะบางอย่างของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่ไม่เหมือนอาสวะของ
บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
[98] บุคคลผู้พูดภาษาคูถ2 เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดเท็จ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางญาติ
อยู่ท่ามกลางทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขานำไปอ้างเป็นพยานซักถาม
ว่า “บุรุษผู้เจริญ มาเถิด ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “รู้”
หรือรู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้” ไม่เห็นก็กล่าวว่า “เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “ไม่เห็น” พูดเท็จ
ทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น หรือเพราะเหตุคือเห็นแก่อามิส
เล็กน้อย ด้วยประการฉะนี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้พูดภาษาคูถ

เชิงอรรถ :
1 กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ และสัทธาวิมุตตะ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้
ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
2 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/28/177-178

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :170 }