เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
[78] บุคคลผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้
รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น
มิใช่เพื่อความมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตกแต่ง เพียงเพื่อความดำรงอยู่
แห่งกายนี้ เพื่อยังชีวิตินทรีย์ให้เป็นไป เพื่อกำจัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่อย่างผาสุกจักมีแก่เรา”
ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการพิจารณาแล้วบริโภคในโภชนาหารนั้น
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็น
ผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ชื่อว่าผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
[79] บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นไฉน ในข้อนั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติอันใด นี้
เรียกว่า สติ บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินี้ชื่อว่าผู้มีสติตั้งมั่น
[80] บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ในข้อนั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย
ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบด้วย
สัมปชัญญะนี้ชื่อว่าผู้มีสัมปชัญญะ
[81] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นไฉน ในข้อนั้น ความสมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :165 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกนิทเทส
การไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทั้ง
ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า ความสมบูรณ์ด้วยศีล บุคคลผู้ประกอบด้วย
ความสมบูรณ์ด้วยศีลนี้ชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
[82] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ
เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิเช่นนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีผล โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ
สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก นี้เรียกว่า ความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ประกอบด้วยความ
สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินี้ชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ
[83] บุคคลผู้หาได้ยากในโลก 2 จำพวก เป็นไฉน
คือ ปุพพการีบุคคลและกตัญญูกตเวทีบุคคล บุคคล 2 จำพวกเหล่านี้หาได้
ยากในโลก
[84] บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยากในโลก 2 จำพวก เป็นไฉน
คือ บุคคลผู้เก็บสะสมสิ่งของที่ตนได้แล้ว ๆ และบุคคลผู้สละสิ่งของที่ตนได้
แล้ว ๆ บุคคล 2 จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าผู้ให้อิ่มได้ยาก
[85] บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย 2 จำพวก เป็นไฉน
คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสะสมสิ่งของที่ตนได้แล้ว ๆ และบุคคลผู้ไม่สละสิ่งของที่ตน
ได้แล้วๆ บุคคล 2 จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าผู้ให้อิ่มได้ง่าย
[86] อาสวะของบุคคล 2 จำพวกเหล่าไหนย่อมเพิ่มพูน
บุคคลผู้รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรรังเกียจและบุคคลผู้ไม่รังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ
อาสวะของบุคคล 2 จำพวกเหล่านี้ย่อมเพิ่มพูน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :166 }