เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
[74] บุคคลผู้มีโอตตัปปะ เป็นไฉน ในข้อนั้น โอตตัปปะ เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อ
การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า โอตตัปปะ บุคคลผู้
ประกอบด้วยโอตตัปปะนี้ชื่อว่าผู้มีโอตตัปปะ
[75] บุคคลผู้ว่าง่าย เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นไฉน
กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวะของผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึดถือข้าง
ขัดขืน ความพอใจในการไม่โต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้เอื้อเฟื้อ ความเคารพ
และรับฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ว่าง่าย บุคคลผู้
ประกอบด้วยความเป็นผู้ว่าง่ายนี้ชื่อว่าผู้ว่าง่าย
[76] บุคคลผู้มีมิตรดี เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นไฉน
บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล สดับมามาก มีความเสียสละ มีปัญญา การเสพ
การส้องเสพ การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดี
ต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้มีมิตรดี บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีมิตรดีนี้ชื่อว่าผู้มีมิตรดี
[77] บุคคลผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้คุ้ม
ครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็เป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมทั้งหลายคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมระวังจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ เป็นผู้ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
ทั้งหลายคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมระวังมนินทรีย์ ย่อมถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์ ความคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์
ทั้ง 6 เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ นี้ชื่อว่าผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :164 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
[78] บุคคลผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้
รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น
มิใช่เพื่อความมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตกแต่ง เพียงเพื่อความดำรงอยู่
แห่งกายนี้ เพื่อยังชีวิตินทรีย์ให้เป็นไป เพื่อกำจัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่อย่างผาสุกจักมีแก่เรา”
ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการพิจารณาแล้วบริโภคในโภชนาหารนั้น
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็น
ผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ชื่อว่าผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
[79] บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นไฉน ในข้อนั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติอันใด นี้
เรียกว่า สติ บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินี้ชื่อว่าผู้มีสติตั้งมั่น
[80] บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ในข้อนั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย
ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบด้วย
สัมปชัญญะนี้ชื่อว่าผู้มีสัมปชัญญะ
[81] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นไฉน ในข้อนั้น ความสมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :165 }