เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
ที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า ความโกรธ บุคคลใดละความโกรธนี้ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่มักโกรธ
[66] บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความผูกโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธในเบื้องต้นชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความ
ผูกโกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ ความไม่หยุด
โกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ
การตามผูกความโกรธไว้ การทำความโกรธให้มั่น นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ
บุคคลใดละความผูกโกรธนี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ผูกโกรธ
[67] บุคคลผู้ไม่ลบหลู่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความลบหลู่ เป็นไฉน
ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความดูหมิ่น การกระทำความ
ดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความลบหลู่ บุคคลใดละความลบหลู่นี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่
ลบหลู่
[68] บุคคลผู้ไม่ตีเสมอ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตีเสมอ เป็นไฉน
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง
ความตีเสมอโดยการนำเอาชัยชนะของตนมาอ้างเหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี
ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ความตีเสมอ บุคคลใดละความตีเสมอนี้ได้ บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้ไม่ตีเสมอ
[69] บุคคลผู้ไม่มีความริษยา เป็นไฉน ในข้อนั้น ความริษยา เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง
ภาวะที่เกลียดชังในเมื่อผู้อื่นได้ลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ
กราบไหว้และการบูชา นี้เรียกว่า ความริษยา บุคคลใดละความริษยานี้ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความริษยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :162 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
[70] บุคคลผู้ไม่มีความตระหนี่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตระหนี่ เป็นไฉน
ความตระหนี่ 5 อย่าง คือ
1. ความตระหนี่ที่อยู่ 2. ความตระหนี่ตระกูล
3. ความตระหนี่ลาภ 4. ความตระหนี่วรรณะ
5. ความตระหนี่ธรรม
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความ
เหนียวแน่น ความปกปิด ความมีจิตไม่เผื่อแผ่ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ บุคคล
ใดละความตระหนี่นี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความตระหนี่
[71] บุคคลผู้ไม่โอ้อวด เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโอ้อวด เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่
โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ภาวะที่แข็งกระด้าง กิริยาที่แข้งกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู
กิริยาที่พูดแอบอ้าง นี้เรียกว่า ความโอ้อวด บุคคลใดละความโอ้อวดนี้ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่โอ้อวด
[72] บุคคลผู้ไม่มีมายา เป็นไฉน ในข้อนั้น มายา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะเหตุจะ
ปกปิดทุจริตนั้นจึงตั้งความปรารถนาอันเลวทราม ปรารถนาว่า “ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา”
ดำริว่า “ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” กล่าวว่า “ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” พยายามทางกายว่า
“ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์ กิริยาที่หลอกให้หลง
ความหลอกลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน
ความซ่อนบัง ความปิดบัง ความปกปิด การไม่ทำให้ชัดเจน การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง
การปิดบังอำพราง กิริยาที่เลวทรามเช่นนี้ นี้เรียกว่า มายา บุคคลใดละมายานี้ได้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีมายา
[73] บุคคลผู้มีหิริ เป็นไฉน ในข้อนั้น หิริ เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อการ
ประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า หิริ บุคคลผู้ประกอบด้วยหิริ
นี้ชื่อว่าผู้มีหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :163 }